เมนู

[673] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมกลับเชื่อมติดกันได้อีกเฉพาะพวกบัณ-
ฑิตด้วยกัน ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีกเฉพาะ
พวกชนพาล ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่าน
จงอยู่เถิด อย่าไปเลย.

จบ กุนตินีชาดกที่ 3

อรรถกถากุนตินีชาดกที่ 3


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
นางนกกะเรียนซึ่งอยู่อาศัยในพระราชวังปองพระเจ้าโกศล จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อวสิมฺหา ตวาคาเร ดังนี้.
ได้ยินว่า นางนกกะเรียนนั้นเป็นผู้จำทูลพระราชสาสน์ของ
พระราชา นางนกนั้นมีลูกนกอยู่ 2 ตัว. พระราชาทรงให้นางนกนั้น
ถือพระราชหัตถเลขาไปส่งแก่พระราชาองค์หนึ่ง. ในเวลาที่นางนกนั้น
ไปแล้ว พวกทารกในราชสกุลพากัน เอามือบีบลูกนกเหล่านั้นจน
ตายไป. นางนกนั้นกลับมาแล้วเห็นลูกนกเหล่านั้นตายแล้วจึงถามว่า
ใครฆ่าลูกฉันตาย ? เขาบอกว่า เด็กคนโน้นและเด็กคนโน้นฆ่า. ก็
ในเวลานั้น ในราชสกุล มีเสือโคร่งที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งดุร้ายหยาบช้า
มันอยู่ได้โดยการล่ามไว้. ทีนั้นพวกเด็กเหล่านั้น ได้ไปเพื่อจะดูเสือ
โคร่งนั้น. นางนกแม้นั้นก็ได้ไปกับเด็กเหล่านั้น คิดว่า เราจักกระทำ

เด็กเหล่านั้นเหมือนมันฆ่าลูกของเรา จึงพาเด็กเหล่านั้นไปทำให้ล้มลง
ใกล้เท้าเสือโคร่ง. เสือโคร่งเคี้ยวกินกร้วม ๆ. นางนกนั้นคิดว่า บัดนี้
มโนรถของเราบริบูรณ์แล้ว จึงบินไปยังหิมวันตประเทศทันที. ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับเหตุนั้นแล้วจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส
ทั้งหลาย ได้ยินว่า นางนกกะเรียนในราชสกุล กระตุ้นพวกเด็ก
ที่ฆ่าลูกของตนให้ล้มลงที่ใกล้เท้าเสือโคร่ง แล้วบินไปยังหิมวันตประ-
เทศเลยทีเดียว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากินเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ว่า เรื่องนี้ พระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้
เท่านั้น แม้ในกาลก่อนนางนกกะเรียนนี้ก็กระตุ้นพวกเด็กผู้ฆ่าลูก
ของตนให้ล้ม แล้วไปสู่หิมวันตประเทศเหมือนกัน แล้วทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติในนครพาราณ-
สี โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ. ในพระราชนิเวศน์ มีนางนกกะเรียน
ตัวหนึ่ง เป็นผู้จำทูลพระราชสาสน์. ข้อความทั้งหมดเช่นกับที่กล่าว
มาแล้วข้างต้นนั่นเอง. ส่วนความแผกกันมีดังต่อไปนี้ :- นางนก
กะเรียนนั้นให้เสือโคร่งฆ่าเด็กทั้งหลายแล้วคิดว่า บัดนี้ เราไม่อาจอยู่
ในที่นี้ เราจักต้องไป แต่เมื่อจะไป ยังไม่กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ
ก่อนจักไม่ไป นางนกกะเรียนนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วยืนอยู่ ณ
ส่วนสุดข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนาย พวกเด็กฆ่า

ลูก ๆ ของข้าพระองค์ เพราะความพลั้งเผลอของพระองค์ ข้าพระองค์
เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธ จึงฆ่าเด็กพวกนั้นตอบแทน
บัดนี้ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่ในที่นี้ แล้วกล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ข้าพระองค์ได้อาศัยอยู่ในพระราชนิเวศน์
ของพระองค์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์บำรุงเป็น
อย่างดีมิได้ขาด มาบัดนี้ พระองค์ทีเดียวได้
ก่อเหตุขึ้น ข้าแต่พระราชา ผิฉะนั้น ข้า -
พระองค์จะขอทูลลาไปป่าหิมพานต์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวเมวทานิมกริ ความว่า พระ-
องค์นั่นแหละให้ข้าพระองค์ถือพระราชหัตถเลขาไปส่ง ไม่ทรงปกป้อง
บุตรทั้งหลายของข้าพระองค์ เพราะความประมาทของพระองค์ ชื่อว่า
ทรงก่อเหตุให้ข้าพระองค์ไปนี้ ณ บัดนี้. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถแห่งอุปสรรค. นางนกกะเรียนเรียกพระโพธิสัตว์ว่า ราชา.
บทว่า วชามหํ ความว่า ข้าพระองค์จะไปยังหิมวันตประเทศ.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ 2 ว่า :-
ผู้ใดแล เมื่อคนอื่นทำกรรมอันชั่วร้าย
ให้แก่ตนแล้ว และตนได้ทำตอบแทนแล้ว
ย่อมรู้สึกได้ว่า เราได้ทำตอบแทนแล้ว
เวรของผู้นั้นย่อมสงบไปด้วยอาการเพียงเท่านี้

ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่านจงอยู่เถิด อย่า
ไปเลย.

คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า บุคคลใด เมื่อคนอื่นกระทำ
กรรมอันชั่วร้าย คือกระทำกรรมอันทารุณ มีฆ่าบุตรเป็นต้นของตน
เมื่อตนกลับทำตอบซึ่งกรรมอันชั่วร้ายตอบต่อบุคคลนั้นได้ ย่อมรู้สึกว่า
เราทำตอบเขาได้แล้ว. เวรนั้นย่อมสงบไปด้วยอาการอย่างนี้ คือ เวร
นั้นย่อมสงบคือเข้าไปสงบด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ เพราะเหตุนั้น
นางนกกะเรียนเอ๋ย เจ้าอยู่เถิดอย่าไปเลย.
นางนกกะเรียนได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ 3 ว่า :-
มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมเชื่อมกันอีกไม่ได้ ใจของข้าพระองค์ไม่
ยอมอนุญาตให้อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จะขอทูลลาไปให้
ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น กตสฺส จ กตฺตา จ ความว่า
ขึ้นชื่อว่ามิตรภาพของตน 2 จำพวกนี้ คือ คนผู้ถูกกระทำ ถูกข่มเหง
ถูกเบียดเบียน และคนผู้ทำให้แปรปรวนไปโดยความแตกแยกในบัดนี้
ย่อมเชื่อมกันไม่ได้ คือต่อกันไม่ได้อีก. บทว่า หทยํ นานุชานาติ
ความว่า เพราะเหตุนั้น ใจของข้าพระองค์จึงไม่อนุญาตการอยู่ในที่นี้.

บทว่า คจฺฉญฺเญว รเถสภ ความว่า ข้าแต่มหาราช เพราะฉะนั้น
ข้าพระองค์จักขอไปอย่างเดียว.
พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ 4 ว่า :-
มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมเชื่อมกันได้อีกเฉพาะพวกบัณฑิตด้วย
กัน แต่สำหรับพวกคนพาลย่อมเชื่อมกันไม่
ได้อีก ดูก่อนนางนกกะเรียน เจ้าจงอยู่เถิด
อย่าไปเลย.

คำที่เป็นคาถานั้นมีใจความว่า ไมตรีของบุคคลผู้ถูกกระทำ
และบุคคลผู้กระทำ ย่อมเชื่อมกันได้อีก แต่ไมตรีนั้นย่อมเชื่อมกันได้
สำหรับพวกนักปราชญ์ ส่วนสำหรับพวกคนพาลย่อมเชื่อม กันไม่ได้
เพราะว่า ไมตรีของนักปราชญ์ทั้งหลาย แม้จะแตกไปแล้วก็กลับเชื่อม
ต่อได้ ส่วนไมตรีของพวกคนพาล แตกกันคราวเดียว ย่อมเป็นอัน
แตกไปเลย เพราะฉะนั้น นางนกกะเรียนเอ๋ย เจ้าจงอยู่เถิดอย่าไปเลย.
แม้เมื่อตรัสห้ามอยู่อย่างนั้น นางนกก็ยังทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เป็นนาย ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่พระเจ้าเฝ้า จึงถวายบังคมพระราชา
แล้วบินไปยังหิมวันตประเทศทีเดียว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า ในกาลนั้นนางนกกะเรียนนั่นแหละ ได้มาเป็น

นางนกกะเรียนในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้มาเป็น
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุนตินีชาดกที่ 3

4. อัมพชาดก


ว่าด้วยหญิงขะโมยมะม่วง


[674] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นจงตกอยู่ใต้อำนาจของขายผู้ย้อม
ผม และผู้เดือดร้อนเพราะแหนบ.
[675] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นถึงจะมีอายุตั้ง 20 ปี 25 ปี
หรือไม่ถึง 30 ปี ตั้งแต่เกิดมาแม้เป็นเช่นนั้น
อย่าได้ผัวเลย.
[676] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นถึงจะกระเสือกกระสันเที่ยวหาผัว
เดินไปสู่หนทางไกลแสนไกล แต่ลำพังคน
เดียว ถึงจะได้นัดแนะกันไว้แล้ว ก็ขออย่า
ได้พบได้เห็นผัวเลย.
[677] หญิงคนใดลักมะม่วงทั้งหลายของท่าน
หญิงคนนั้นถึงจะมีที่อยู่สะอาด ตบแต่ง
ร่างกายทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะ